เปิดประสบการณ์ AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE Sandbox แห่งแรกของสถาบันการศึกษาในเมืองไทย ที่ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHz และ 26 GHz (mmWave) !!!

โดย J.wasan
0 ความเห็น 12.5K views

วันนี้แวดวงการศึกษาในบ้านเราเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังจากเอไอเอสผู้นำด้านเทคโนโลยีโครงข่าย 5G และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันเปิดตัวศูนย์ 5G R&D ในชื่อ AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE”  ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกในการนำเทคโนโลยี 5G เข้ามาสนับสนุนภาคการศึกษาในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่ายจับต้องได้จริง พร้อมมอบโอกาสในการเข้าถึงตัวเทคโนโลยี 5G ได้แบบใกล้ชิดกว่าที่เคย

ซึ่งความร่วมมือระหว่างเอไอเอสกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งภาคการเรียนการสอน, งานวิจัย หรือการสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงโอกาสในการสร้างบุคลากรที่จะมีความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต ผ่าน Build Awareness และ Use Case ในรูปแบบที่เข้าถึงตัวเทคโนโลยี 5G แบบจับต้องได้ โดยไม่ได้เป็นแค่ภาคทฤษฎีเหมือนที่ผ่าน ๆ มา แต่ครั้งนี้ นิสิต นักศึกษา นักพัฒนารวมถึงคณาจารย์ สามารถลงมือทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้สามารถสร้าง Use Case ร่วมกับเทคโนโลยีที่อยู่ในกระแสขับเคลื่อน Digital Transformation อย่าง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse,Robotic ,ฯลฯ บนเครือข่าย 5G แบบใกล้ชิดผ่านความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย

 

 สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ไฮไลท์หลักของ AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ก็คือการติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHz และ 26 GHz (mmWave) ที่มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency) อีกทั้งยังรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาถึงอย่าง 5G Advanc หรือ 5.5G ในอนาคตอันใกล้นี้

และการที่มีศูนย์ 5G R&D ที่สามารถทดลอง ทดสอบ 5G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด จึงเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของแวดวงการศึกษาและวิจัย เพราะที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นแค่เสาหรือตัว base station แต่ไกล ๆ โอกาสที่จะเข้าถึงแบบเชิงลึกหรือสัมผัสของจริงจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากพอสมควร การสร้าง Use Casee หรือการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต้องมีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายจึงมีข้อจำกัดมาโดยตลอด แต่หลังจากนี้เราจะได้เห็นการพัฒนา Use Case ในหลากหลายมิติได้ง่ายและคล่องตัวยิ่งขึ้น และแน่นอนว่า “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ไม่ได้ตอบโจทย์หรือออกแบบมาเพื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรองรับ Use Casee จากนักศึกษาในคณะอื่น ๆ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับโครงข่าย 5G ไม่ว่าจะเป็น โยธา, ไฟฟ้า, จักรกล, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ รวมถึงบุคคลทั่วไปยังสามารถเข้ามาสัมผัสกับเทคโนโลยี 5G ได้แบบใกล้ชิดผ่านเวิร์คช็อปของ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ได้อีกด้วย 

และประโยชน์ของการที่มีศูนย์ 5G R&D ในมหาวิทยาลัยจะก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G ในเชิงลึก โดย นิสิต นักศึกษา และนักพัฒนาสามารถพัฒนาหรือสร้าง Use case ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะด้วย Knowledge Sharing และคุณสมบัติทางด้าน Hardware จาก Base Station ของเอไอเอสที่มีช่วงความถี่สูงถึง 26 GHz ส่งผลให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่าง 5G CPE ที่รองรับการทำงานร่วมกับดีไวซ์ในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างลงตัวและยังตอบโจทย์การพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA ที่ต้องใช้ประสิทธิภาพขั้นสูงจากโครงข่าย 5G เป็นแกนหลัก

เป้าหมายความร่วมมือในครั้งนี้จับต้องได้ สัมผัสได้จริง เพราะล่าสุดทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สร้าง Use Casee ที่ทำงานร่วมกับโครงข่าย 5G ใน AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE”  มาแล้วหลายโครงการ ยกตัวอย่างเช่นด้าน Robotic จากหุ่นยนต์ WALKIE  ซึ่งเป็นหุ่นยนต์บริการในครัวเรือน หรือหุ่นยนต์ Rehab และหุ่นยนต์ไข่มุกซึ่งเป็นหุ่นยนต์ Home Healthcare ที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่าน TeleHealth ที่ต้องใช้ขีดความสามารถของ 5G ทั้งในแง่การสื่อสารแบบ Real Time พร้อมเก็บและส่งต่อสถิติบนโครงข่าย 5G เพื่อให้เกิดความสะดวกคล่องตัวทั้งจากผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์

นอกจากนี้ยังอินเทรนด์ด้วยเมตาเวิร์สเพื่อการศึกษา อาทิ โรงไฟฟ้า ณ เขื่อนท่าทุ่งนา และรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ หรือ Autonomous Shuttle Bus ที่ใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มความปลอดภัยกับการทำงานของรถไร้คนขับ โดยได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. อีกด้วย

และเมื่อมองโฟกัสในภาพรวม เราจะเห็นได้ว่าทั้ง วิศวฯ จุฬา และ AIS ต่างมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือการให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา ผ่านวิสัยทัศน์ที่เปิดให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง 5G ได้แบบไร้ข้อจำกัด เพื่อก่อให้เกิดบูรณาการ พร้อมยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเทคโนโลยี 5G ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งใน Digital Transformation ที่จะมาเข้าช่วยเสริมทักษะให้แก่นิสิตและคณาจารย์ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศไทยในแบบยั่งยืน

 

บทสรุป

เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าจับตามอง เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า 5G ไม่ใช่แค่เรื่องมือถือ แต่เทคโนโลยีนี้คือแกนหลักในการที่จะเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อน Business Model ของทุกภาคส่วน ซึ่งการจับมือเป็นพันมิตรของเอไอเอสและวิศวฯ จุฬา ด้วยการเปิดตัวศูนย์ 5G R&D จึงเป็นการทลายข้อจำกัดเดิม ๆ พร้อมเปิดโอกาสให้ นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนาใน 5G Ecosystem สามารถใช้เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้ง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse, Robotic, ฯลฯ บน 5G ได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งไม่ได้อำนวยความสะดวกในการใช้งานหรือพัฒนา Use Casee แต่เพียงอย่างเดียว แต่โครงการนี้ยังเป็นการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านโครงข่าย 5G ในอนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย 

 

 

 

Facebook Comments

Related Posts