ถอดรหัส เอไอเอสเปิดตัว หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ยกระดับการศึกษายุคดิจิทัล ให้คนไทยรู้เท่าทันภัย Cyber พร้อมอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ !!!

โดย J.wasan
0 ความเห็น 13.1K views

 โครงการ อุ่นใจไซเบอร์  เปิดตัวมาแล้วตั้งแต่ปี 2562 โดยเอไอเอสเล็งเห็นผลกระทบต่อการเติบโตและความเปลี่ยนแปลง ทั้งในเชิงบวกและลบของเทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของทุกสังคมและเพศวัย ซึ่งที่ผ่านมาทางเอไอเอสมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงข่ายและเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กับการสร้างสังคมดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้นไปแบบควบคู่กัน จึงเป็นที่มาของ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์  เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมดิจิทัลให้น่าอยู่และปลอดภัย พร้อมสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านเครื่องมือดิจิทัล รวมถึงการนำองค์ความรู้ขององค์กรมาสร้างภูมิปัญญาและส่งเสริมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะให้คนไทยสามารถอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์อีกด้วย

สำหรับ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ ที่เปิดตัวในปี 2562 ทางเอไอเอสได้ออกแคมเปญสนับสนุนให้เยาวชนและคนไทย ได้ใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเรื่องใกล้ตัวที่เห็นได้เด่นชัดก็คือการกลั่นแกล้งทางออนไลน์หรือ Cyberbullying นั่นเอง ที่ผ่านมาเราจึงได้เห็นแคมเปญดี ๆ จากทางเอไอเอส ไม่ว่าจะเป็น “โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน”หยุด Cyberbully ต้องแก้ที่ต้นเหตุ! , รวมถึงแคมเปญที่ให้ความรู้ในด้านความปลอดภัยจากอันตรายในโลกดิจิทัล อาทิ การรับมือกับโทรกวนใจ และ SMS หลอกลวงใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยในวัน Safer Internet Day 2022 และอื่น ๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันของคนไทย โดยเมื่อมองในภาพรวมสิ่งเหล่านี้จึงเป็นการตอกย้ำเจตนารมณ์ของเอไอเอส ในการเข้ามาเป็นแกนกลางเพื่อสร้างเครือข่าย และชวนทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงและความปลอดภัยให้กับสังคมดิจิทัลของไทยอย่างแท้จริง 

ล่าสุดแวดวงการศึกษาในบ้านเราเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังจากเอไอเอสได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล หลักสูตร อุ่นใจ Cyber โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนถึง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในการรังสรรค์หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย

โดยทางคุณ สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS ได้เผยที่มาที่ไปและวัตถุประสงค์ในการเปิดตัว หลักสูตร อุ่นใจ CYBER ที่ถือว่าเป็นการผลักดันความตั้งใจในการสร้างสังคมดิจิทัลที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นจริงในแบบรูปธรรม โดยมองจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและสังคมดิจิทัลของคนไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเอไอเอสได้เล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคงสะสมอยู่ในสังคมและมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ การสูญเสียทรัพย์สิน จนไปถึงการเสียชีวิตหรือพิการ จากพฤติกรรมที่สะสมความรุนแรงเพราะขาดความรู้เท่าทันในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม  ยกตัวอย่าง เยาวชนที่ติดโทรศัพท์มือถือ เด็กติดเกม และอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งในทางตรงและทางอ้อม 

และการที่เอไอเอสร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในการเปิดตัว หลักสูตร อุ่นใจ CYBER จึงเป็นการขยายการเข้าถึงความปลอดภัยในโลกดิจิทัล และสามารถรู้เท่าทันภัย Cyber ได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทักษะให้คนไทยได้เข้าถึงองค์ความรู้ผ่านแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้ง่าย ทั้ง LearnDi  และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER ซึ่งเอไอเอสมีความมุ่งมั่นอยากให้คนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้พร้อมวัดระดับทักษะดิจิทัลจากหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อยกระดับองค์ความรู้ในฐานะพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกของสังคม

สำหรับไฮไลท์ของ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ จะประกอบไปด้วย 4 หัวข้อที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้

  1. Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  3. Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
  4. Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ ยังได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ ก.ค.ศ. ให้เป็นหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  สามารถนำผลการนับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักที่ ก.ค.ศ. กำหนด เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้โครงการนี้สามารถใช้เป็นสื่อประกอบการเรียน การสอนกับนักเรียนไทยทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (ก.ศ.น.) 


และนอกจากนี้ โครงการ อุ่นใจไซเบอร์ ยังเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาร่วมเรียนรู้พร้อมวัดระดับทักษะดิจิทัล ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ชีวิตในสังคมดิจิทัล รวมถึงสามารถรับมือกับภัย Cyber ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


บทสรุป

โครงการ อุ่นใจไซเบอร์  เป็นโครงการที่ช่วยผลักดันให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ทักษะและความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผ่านความร่วมมือของเอไอเอสกับภาครัฐทั้ง 4 หน่วย ซึ่งแต่หน่วยงานต่างก็มีความรับผิดชอบในส่วนที่ถนัดและคุ้นเคย ก่อนที่จะนำมาตกผลึกจนพร้อมเข้ามาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ได้เป็นครั้งแรกของไทยอีกด้วย

สำหรับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ได้ทำการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ออกแบบเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะของกราฟิกหรือแอนิเมชัน พร้อมขับเคลื่อนผ่านแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งและใช้งานง่าย อย่าง LearnDi  และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER จากเอไอเอส โดยมีกระทรวงศึกษาธิการ และสพฐ. ที่ช่วยรับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรด้านการศึกษา อีกทั้งยังสามารถขยายหลักสูตรไปยังโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และองค์กรที่กำกับดูแลโดยกระทรวงกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะช่วยให้ทั้งนักเรียนในสังกัดและประชาชนทั่ว ๆ ไป ได้เรียนรู้ในหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” ได้ง่ายและสะดวกคล่องตัวขึ้น และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ชีวิตของพี่น้องชาวไทยอย่างแน่นอน”

หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เริ่มเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในระบบอย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันนี้  สำหรับประชาชนทั่วไป สามารถเรียนรู้และสร้างทักษะทางดิจิทัลของทุกท่านได้ที่ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th/ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

 

Facebook Comments

Related Posts