14 ตุลาคม วัน International E-Waste Day เอไอเอส ปลุกสังคมไทย ช่วยกันลดปัญหา”ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ด้วยการทิ้งถูกที่ จัดการถูกวิธี เพื่อโลกของเรา !!!

โดย J.wasan
0 ความเห็น 13.7K views

 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีปริมาณสูงขึ้นทุก ๆ ปี ซึ่งส่วนมากจะถูกจัดการอย่างไม่ถูกวิธีและไม่ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์และเกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าไปโดยสูญเปล่า ทำให้ในปี 2019 วันที่ 14 ตุลาคมได้ถูกกำหนดให้เป็น International E-waste Day เพื่อต้องการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีองค์กรมากกว่า 100 องค์กรจาก 44 ประเทศทั่วโลกให้การสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี 

ที่ผ่านมาสาเหตุที่ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ  ส่วนหนึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ในปัจจุบันผู้ใช้งานติดตามเทคโนโลยีมากจนเกินไป เช่นเครื่องเก่ายังไม่พัง  หรือมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่พยายามซ่อม แต่เลือกที่จะซื้อใหม่ จึงส่งผลให้เครื่องเก่ากลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาอันสั้น รวมถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง เช่นนำไปทิ้งปะปนรวมกับขยะอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการเสียโอกาสในการนำมารีไซเคิลอย่างถูกวิธีอีกด้วย 

สำหรับประเทศไทย AIS ถือว่าเป็นองค์กรแรก ๆ ที่มองเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการปัญหา E-Waste มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ผลักดันการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste ) พร้อมเป็นศูนย์กลางของการรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี และไม่เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ คนไทยไร้ E-Waste มาตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน และที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานของรัฐ, เอกชน, และประชาชนทั่ว ๆ ไป ในการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการสื่อสาร กิจกรรม และโครงการต่าง ๆ ส่งผลให้สามารถเก็บ E-Waste เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้องได้แล้วกว่า 223,807 ชิ้น ซึ่งสามารถดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,238,070 กิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์ เทียบเท่ากับต้นไม้ขนาดใหญ่ 248,674 ต้น (น้ำหนัก 10,749.17 Kg. / 10.7 Tons)

ความสำเร็จของแคมเปญและโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

  • ร่วมรณรงค์รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste จากหน่วยงานและประชาชนตลอดเส้นถนนพหลโยธิน
  • บอกเล่าคุณค่า E-Waste ผ่านต้นคริสต์มาสที่ทำจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ 
  • เอไอเอสขยายจุดรับทิ้ง E-Waste ที่ศูนย์การค้า 34 แห่งและอาคารสำนักงาน
  • ดึงพลังพนักงานกว่า 20,000 คน ร่วมปฏิบัติการ “คนไทยไร้ E-Waste”
  • ชูต้นแบบภาคีเครือข่ายเพื่อสิ่งแวดล้อม กำจัดขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี
  • เอไอเอส E-Waste ทิ้งรับพอยท์” มอบสิทธิพิเศษสุดยิ่งใหญ่
  • ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ แล้วมาลุ้นรับสมาร์ทโฟน 5G เครื่องใหม่ 
  • คนไทยไร้ E-Waste สู่วาระแห่งชาติ พร้อมขยายจุดรับทิ้งทั่วประเทศ
  • ฝากทิ้ง E-Waste กับพี่ไปรษณีย์ 
  • เอไอเอส เดินกลยุทธ์ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ 
  • เอไอเอส สานต่อภารกิจแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่อง
  • เอไอเอส ผนึก ธนาคารออมสิน กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน
  • เก็บตัวได้…แต่อย่าเก็บ E –Waste

โครงการเหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างบางส่วน ซึ่งยังมีแคมเปญและโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่จะมีออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคตข้างหน้า 

และจากผลงานที่ผ่านมาส่งผลให้ ณ ปัจจุบัน AIS ได้กลายเป็นศูนย์กลาง (HUB) ด้านองค์ความรู้ การจัดการอย่างถูกวิธี และพร้อมเชื่อมต่อกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการ E-Waste อย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมาเอไอเอสได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อาทิ ศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัล, ไปรษณีย์ไทย, SMART Service ผู้ให้บริการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร, ภาคีเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย TRBN โดยความร่วมมือของกลุ่มบริษัทจดทะเบียน ภายใต้การกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กลุ่มบริษัทย่านถนนพหลโยธิน และมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสิ้นกว่า 40 องค์กรทั่วประเทศ ในการสร้างการตระหนักรู้และขยายจุดรับทิ้งขยะ E-Waste ทั่วประเทศรวมกว่า 2,400 จุด  

 

ฮีโร่โอลิมปิก 2020 ผู้คว้าเหรียญทองที่รีไซเคิลมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

และปีนี้ยังได้ “น้องเทนนิส” ฮีโร่สาวไทย เจ้าของเหรียญทองเทควันโดหญิง “โอลิมปิก โตเกียว 2020” หนึ่งใน AIS Family มาบอกเล่าความประทับใจ จากเหรียญทองที่ทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ และความสำคัญของโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ของ AIS อีกด้วย 

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เหรียญทองที่น้องเทนนิสได้รับนั้น เป็นเหรียญที่ทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยน้องเทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เล่าว่าเหรียญทองโอลิมปิกเป็นความภูมิใจสูงสุดที่เกิดจากความพยายาม และการฝึกฝนอย่างหนัก และที่สำคัญคือทุกเหรียญเกิดจากความตั้งใจของชาวญี่ปุ่นในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์มาสร้างเป็นเหรียญรางวัลให้กับนักกีฬา ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่า ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก และยังจัดการไม่ถูกวิธี  อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ดีในการรีไซเคิลให้ขยะกลับมามีคุณค่าอีกครั้ง

และน้องเทนนิสได้ยังกล่าวถึงโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ที่ผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป ควรที่จะหันมาใส่ใจโดยเริ่มจากตัวเรา ด้วยการวางแผนการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้คุ้มค่าที่สุด และหากจำเป็นต้องทิ้งก็ควรทิ้งให้ถูกวิธีกับ AIS ที่มีจุดรับทิ้งมากมาย พวกเราทุกคนช่วยกันได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและโลกของเรา

 

บทสรุป

เนื่องในวัน International E-Waste Day ประจำปีนี้ เราคงได้เห็นกันแล้วว่า AIS เป็นองค์กร ที่มีความตั้งใจผลักดันให้  ภารกิจ คนไทยไร้ E-Waste ก้าวเข้าสู่วาระสำคัญของชาติ ซึ่งไม่ได้เป็นแค่กิจกรรมเพื่อสังคมเท่านั้น แต่การที่เอไอเอสพร้อมเป็น HUB ด้านองค์ความรู้ การจัดการอย่างถูกวิธี และรับอาสารวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและกำจัดตามมาตรฐานสากล พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหาอิเล็กทรอนิกส์ในแบบยั่งยืน นี่คือการช่วยให้ปัญหามลภาวะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทยและการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าไปโดยสูญเปล่า ลดลงอย่างเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และเป็นการตอกย้ำถึงเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่ทางเอไอเอสพร้อมจะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข จากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย

 

Facebook Comments

Related Posts